วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค ร่วมกับ สมาคมการค้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ องค์การมหาชน กำหนดจัดงาน Thailand LAB INTERNATIONAL งานแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเครื่องมือสำหรับห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ / งาน Bio Asia Pacific งานแสดงผลงานเครื่องมือ เทคโนโลยีด้านชีววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ และนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข / FutureCHEM INTERNATIONAL งานแสดงผลงาน นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านเคมีเพื่ออุตสาหกรรมจัดขึ้นพร้อมกัน ระหว่างวันที่ 11-13 กันยายน พ.ศ. 2567 ณ ฮอลล์ 102- 104 ไบเทค กรุงเทพฯ พร้อมแล้วที่จะแสดงศักยภาพอีกครั้งด้วยการนำผู้ประกอบการชั้นนำทั้งในและต่างประเทศกว่า 300+ ราย มากกว่า 500+ แบรนด์ มาจัดแสดง พร้อมนำเสนอเทคโนโลยี ผลงานวิจัยใหม่ และนวัตกรรมต่างๆ เผยแพร่สู่ตลาด ตอบรับความต้องการทั้งผู้ซื้อและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอย่างครบครันที่สุดในเอเชีย คาดดึงดูดผู้ซื้อและผู้เข้าชมงานกว่า 12,000+ รายจากภูมิภาคตลอด 3 วันของการจัดงาน
ในปีนี้คณะผู้จัดงานยืนยันความพร้อมกลับมาจัดงานอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมเปิดตัวงานใหม่อย่าง งาน Health & Innovation Asia โดยเป็นงานที่เน้นด้านนวัตกรรม อุปกรณ์ และเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพและการแพทย์ ตอบโจทย์การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยเทคโนโลยี พร้อมเปิดเวทีให้ผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมมาพบปะพูดคุยกับผู้ผลิตและผู้เชี่ยวชาญ ชมการสาธิตจากผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศ จัดขึ้นพร้อมกันตรงความต้องการของทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีเครื่องมือในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ นวัตกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ การแพทย์สมัยใหม่ นวัตกรรมใหม่ๆทางเคมีเพื่ออุตสาหกรรม เทคนิคและเครื่องมือเพื่อวิคราะห์และตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทั้งอาหาร ยา วัคซีน เครื่องสำอาง ปิโตรเคมี และนวัตกรรมการดูแลสุขภาพครบวงจร พร้อมเข้าร่วมงานสัมมนาเชิงวิชาการและปฏิบัติการกว่า 120+ จัดโดย 53+ หน่วยงาน และกว่า 260+ วิทยากรชั้นนำของอุตสาหกรรมที่อัดแน่นด้วยสาระความรู้มากมาย
แคมเปญพิเศษ “สัปดาห์แห่งสุขภาพและสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน”
วีอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค ตระหนักถึงความสำคัญของหลักเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Goal) ที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญและพยายามนำมาประยุกต์ใช้กับรูปแบบการจัดงานของเรา โดยก่อตั้งแคมเปญพิเศษ ภายใต้ชื่อ Sustainable Health and well-being หรือ “สัปดาห์แห่งสุขภาพและสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน” เนื่องมาจากการรวมตัวกันของ 4 กิจกรรมภายในงานที่ครอบคลุมตั้งแต่ ห้องปฏิบัติการ ชีววิทยา เคมี เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ และอาหาร ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของ SDGs Goal ตั้งแต่ SDG 3: Good Health and Well-being – การส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรทุกวัยผ่านนวัตกรรมต่างๆ / SDG 11: Sustainable Cities and Communities – การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ยั่งยืน และเข้าถึงได้ในเมืองและชุมชน / SDG 12: Responsible Consumption and Production – การส่งเสริมการบริโภคและการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ ซึ่งเชื่อมโยงกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และ SDG 17: Strengthen implementation and revitalize the Global Partnership – เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนสัปดาห์การจัดงานนี้จึงสอดคล้องกับหลายข้อของ SDGs ที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างสุขภาพที่ดีและสภาพความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนให้กับทุกคนในโลกผ่านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
คุณอนุชา พันธุ์พิเชฐ ผู้จัดการโครงการอาวุโส บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค กล่าวว่า “จากความสำเร็จของการจัดงานกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ในปีที่ 14 นี้ เราได้รวบรวมบริษัทและแบรนด์ชั้นนำมากมายในวงการ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ชั้นนำอาทิ A&D Instruments / Anton Paar / Buchi / Carl Zeiss / DKSH Technology / Eppendorf / Hach / IKA Works / Merck /Bara/ Bio-Active / Sithiphorn Associates / Gibthai / Apex Chemicals / Geneplus / Metrohm Siam / Mettler-Toledo / Neogen / OHAUS Indochina Limited / Pall Corporation Filtration & Separations / SCG Packaging / Labware / Agilent Technologies / CMC Instruments GmbH / Daihan Scientific / DSM Nutritional Products / VWR Singapore / Xi’an Tainlong เป็นต้น ซึ่งท่านจะได้พบกับบริษัทชั้นนำเหล่านี้กว่า 300 บริษัท และแบรนด์สินค้ากว่า 500+ แบรนด์ที่อยู่ในตลาดจากนานาประเทศ และยังสามารถอัปเดตนวัตกรรมล่าสุด และพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ และทำนัดหมายเพื่อการเจรจาธุรกิจของท่านผ่านระบบจับคู่ธุรกิจ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ท่าน ภายในงานตลอดทั้ง 3 วัน”
“ภายในงานปีนี้ ผู้จัดได้มีการขยายพื้นที่การจัดงานโดยมีการนำเสนอธุรกิจประเภทเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพ และอาหารเพื่อสุขภาพเพิ่มเติม ภายใต้ชื่องาน งาน Health & Innovation Asia และ Food For Health Pavilion ซึ่งมีการนำเสนอโปรแกรมงานสัมมนาจากหน่วยงานที่สำคัญน่าสนใจมากมาย อาทิ ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ สมาคมคลินิกไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ ฯลฯ ในส่วนของธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ ท่านจะได้พบกันแบรนด์ชั้นนำที่จะมาถ่ายทอดความรู้ผ่านงานสัมมนาและกิจกรรมมากมาย อาทิ Tastebud Lab แพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เป็นต้น เราเชื่อมั่นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนในอุตสาหกรรม” คุณชนันรัตน์ คงเกิด ผู้จัดการโครงการ Health & Innovation Asia กล่าวเสริม
สัมมนาที่น่าสนใจที่ไม่ควรพลาด!
• The 8th Biotechnology International Congress (BIC 2024) โดยสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย
• การประชุมวิชาการสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ฯ “The Step Up of Healthcare Promotions in 21st Century” โดยสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทยฯ
• Safety LAB Standards for Sustainability มาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเพื่อความยั่งยืน โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
• การตรวจสอบห้องปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมในการวิเคราะห์น้ำเสียตามกฎหมาย โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม
• The Potential of AI in the Thai Cosmetic Industry / Green Beauty ‘Cosmetic Formulation’ / Up to Date Cosmetic Factory’s Standard โดยสมาคมการค้าคลัสเตอร์เครื่องสำอางไทย
• การแข่งขัน Health & Innovation Hackathon 2024 โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
ขอเชิญผู้ที่สนใจลงทะเบียนล่วงหน้าเข้าร่วมงาน Thailand LAB INTERNATIONAL, Bio Asia Pacific, FutureCHEM INTERNATIONAL, Health & Innovation Asia ระหว่างวันที่ 11-13 กันยายน พ.ศ. 2567 ณ ฮอลล์ 102- 104 ไบเทค กรุงเทพฯ ลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับบัตรเข้างานฟรี ได้ที่ https://thailandlabregistration.com/Registration/ChooseTypeRegis.aspx?codeInv=THLAB0024 และลุ้นรับของรางวัลมากมาย รายละเอียดเพิ่มเติม www.thailandlab.com หรือ www.bioasiapacific.com หรือ https://health-innovation-asia.com สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-1116611
This press release has also been published on VRITIMES